IMAGE ฟุตบอลเทศบาลตำบลวังกะคัพ ครั้งที่ 2
วันจันทร์, 13 พฤษภาคม 2567
วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2567 จบไปเป็นที่เรียบร้อยย ... Read More...
IMAGE โครงการจัดอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างและประชาชน ประจำปีงบประมาณ 2567
วันศุกร์, 03 พฤษภาคม 2567
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 08.30 น. ณ ห้องประชุมจุดชมวิว... Read More...
IMAGE นายกเทศมนตรีตำบลวังกะที่ร่วมเป็นประธานพิธีในการกล่าวเปิดงาน การแข่งขันกีฬาเทศบาลประจำปี พ.ศ.2567
วันจันทร์, 29 เมษายน 2567
เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2567 #การแข่งขันกีฬาเทศบาล... Read More...
IMAGE งานพัฒนาชุมชนจัดประชุมชมรมผู้สูงอายุ ประจำเดือนเมษายน 2567
วันศุกร์, 26 เมษายน 2567
วันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2567 เวลา 09.30 น. ... Read More...
IMAGE ภาษาถิ่นมิสิ้นหาย หากลูกหลานทั้งหลายร่วมสืบสาน
วันศุกร์, 26 เมษายน 2567
วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 08.30 น. " ภาษาถิ่นมิสิ้นหาย... Read More...
IMAGE โครงการตลาดสดปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพผู้บริโภคเทศบาลตำบลวังกะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567
วันพฤหัสบดี, 25 เมษายน 2567
วันที่ 25 เมษายน 2567 ขอบคุณ นายวิจารณ์ กุลชนะรัตย์... Read More...
IMAGE วันเทศบาล ประจำปี 2567
วันพฤหัสบดี, 25 เมษายน 2567
วันที่ 24 เมษายน 2567 ( วันเทศบาล ) นายวิจารณ์ กุลชนะรัตน์... Read More...

วัดเก่าจมน้ำ

วัดใต้น้ำ หรือวัดจมน้ำ คือวัดวังก์วิเวการามเดิม ซึ่งกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ถือว่าเป็น Unseen Thailand เพราะมีความแปลกที่มีซากโบราณสถานจมอยู่ใต้น้ำ เป็นสถานที่เล่าขานถึงตำนานความเป็นมาของวัดหลวงพ่ออุตตมะ จนหลายคนเรียกกันว่าเมืองบาดาล นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในช่วงฤดูร้อน ตั้งแต่ประมาณเดือนมีนาคม - เมษายน เป็นช่วงหน้าแล้ง น้ำหลังเขื่อนลดลงมาก จะสามารถเดินเข้าไปเยี่ยมชมโบสถ์เก่าได้ ณ บริเวณสามประสบ ส่วนคนที่มาเที่ยวช่วงปลายฝนต้นหนาว ตั้งแต่ประมาณตุลาคม - มกราคม อาจจะได้เห็นแค่บางส่วนของตัวโบสถ์ที่โผล่พ้นน้ำ หรือบางทีก็จมน้ำเป็นเมืองบาดาล จะมีให้เห็นก็เพียงแต่ยอดหอระฆังเดิมเท่านั้นที่สูงพ้นน้ำ

มีเพียงวัดสมเด็จเท่านั้นที่ไม่จมอยู่ใต้น้ำ เพราะตั้งอยู่บนเนินเขาสูงจึงยังคงไม่ได้รับความเสียหาย ภายในโบสถ์จะมีพระพุทธรูปให้นักท่องเที่ยวและประชาชนได้สักการะบูชา

สะพานไม้อุตตมานุสรณ์ (สะพานมอญ)

เป็นสะพานไม้ยาวที่สุดในประเทศไทย สร้างให้ประชาชนที่อยู่ตัวอำ เภอสังขละบุรีกับหมู่บ้านชาวมอญได้ติดต่อกัน สะพานไม้อุตตมานุสรณ์หรือที่เรียกกันว่า สะพานมอญเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศ มีความยาวประมาณ 445 เมตร

หลวงพ่ออุตตมะเป็นผู้ดำเนินการสร้าง โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้คนไทย กะเหรี่ยง และมอญ ได้สัญจรไปมาหาสู่กันได้ สร้างข้ามลำน้ำซองกาเลีย เป็นการสร้างความสัมพันธ์ของคนทั้งสามกลุ่ม โดยใช้แรงงานของชาวมอญร่วมใจกันสร้าง ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น1 ปี ในการสร้างสะพานแห่งนี้ เมื่อก่อสร้างเสร็จสะพานแห่งนี้จึงได้รับการขนานนามว่า สะพานไม้แห่งศรัทธาเนื่องจากวิธีการก่อสร้างและขั้นตอนการก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นแรงงานคนทั้งสิ้น สะพานมอญกลายเป็นสัญลักษณ์ของสังขละบุรีไปแล้ว นักท่องเที่ยวจะนิยมมาเดินเยี่ยมชมสะพานเพื่อชมแสงสีทองของพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้า หากเป็นช่วงฤดูหนาวก็จะได้ชมสายหมอกยามเช้า รวมถึงชมวิถีชีวิตของชาวไทยและมอญ ที่เดินข้ามไปมาหากันบนสะพานแห่งนี้

 

 

สะพานไม้ยามค่ำคืน

เจดีย์พุทธคยา

เจดีย์พุทธคยา

สร้างขึ้นในปี 2518 หลวงพ่ออุตตมะได้คิดริเริ่มสร้างเจดีย์จำลองแบบจากเจดีย์พุทธคยา ที่ประเทศอินเดีย เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุกระดูกนิ้วหัวแม่มือขวา ในปี พ.ศ. 2532สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีอัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุส่วนที่เป็นกระดูกนิ้วหัวแม่มือขวา 2 องค์ ขนาดเท่าเมล็ดข้าวสารมีสีขาวใสอมเหลืองเป็นเงาบรรจุในผอบ3 ชั้น ซึ่งหลวงพ่ออุตตมะอัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา และฉัตรทองคำหนัก400 บาท ขึ้นไปประดิษฐานบนยอดเจดีย์

 

วัดวังก์วิเวการาม

 

วัดวังก์วิเวการาม

วัดวังก์วิเวการาม หรือ วัดหลวงพ่ออุตตมะ เป็นวัดที่หลวงพ่ออุตตมะ ร่วมกับชาวบ้านอพยพชาวกะเหรี่ยงและชาวมอญ ได้ร่วมกันสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2496 ที่บ้านวังกะล่าง อำเภอสังขละบุรี ในระยะแรกมีเพียงกุฏิและศาลา มีฐานะเป็นสำนักสงฆ์ แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกว่า วัดหลวงพ่ออุตตมะ ตั้งอยู่บนเนินสูงในบริเวณที่เรียกว่าสามประสบ ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำ 3 สาย คือ แม่น้ำซองกาเรีย  แม่น้ำบีคลี่ แม่น้ำรันตี ไหลมาบรรจบกัน ในปี พ.ศ. 2505 ได้รับอนุญาตจากกรมศาสนาให้ใช้ชื่อว่า วัดวังก์วิเวการาม ซึ่งตั้งตามชื่ออำเภอเดิม คืออำเภอวังกะ-สังขละบุรี ซึ่งต่อมาถูกยุบเป็นกิ่งอำเภอ ก่อนที่จะยกฐานะเป็น อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีในปี พ.ศ. 2508  เมื่อ พ.ศ. 2527 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ก่อสร้าง เขื่อนเขาแหลม หรือเขื่อวชิราลงกรณ์ ซึ่งเมื่อกักเก็บน้ำแล้ว น้ำในเขื่อนจะท่วมตัวอำเภอเก่ารวมทั้งบริเวณหมู่บ้านชาวมอญทั้งหมด ทางวัดจึงได้ย้ายมาอยู่บนเนินเขาในที่ปัจจุบัน 

 

ศาลาที่ประดิษฐานสังขารหลวงพ่ออุตตมะ สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบมอญและไทยประยุกต์

 

 

ปัจจุบันนี้หลวงพ่ออุตตมะได้ละสังขารไปแล้ว( 18 ตุลาคม 2549) แต่ศิษยานุศิษย์ยังเก็บสังขารของท่านไว้ให้ประชาชนได้กราบสักการะบูชา 

 

 

วิหารพระพุทธรูปหินอ่อน ประดิษบานพระพุทธรูปหินอ่อนปางมารวิชัย หนัก 9 ตันหรือที่คนทั่วไปเรียกว่า หลวงพ่อขาว หรือ หลวงพ่อหยกขาว

Additional information