IMAGE เมื่อวันที่ 13 - 14 เมษายน 2567 เก็บตกภาพบรรยากาศประเพณีวันสงกรานต์ประจำปี พ.ศ.2567
วันอาทิตย์, 14 เมษายน 2567
เก็บตกภาพบรรยากาศประเพณีวันสงกรานต์ประจำปี พ.ศ.2567... Read More...
IMAGE งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ลงพื้นที่เพื่อตรวจการและจัดระเบียบดูแลความเรียบร้อยของพี่น้องประชาชน
วันศุกร์, 05 เมษายน 2567
วันที่ 05 เมษายน 2567 เวลา 07.30 น. #ตรวจการและจัดระเบียบหมู่2 ... Read More...
IMAGE "MOI Waste Bank Week”
วันพุธ, 20 มีนาคม 2567
    Read More...
IMAGE กิจกรรมโครงการเครือข่ายป้องกันภัยเทศบาลตำบลวังกะ ???? ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
วันอังคาร, 06 กุมภาพันธ์ 2567
กิจกรรมโครงการเครือข่ายป้องกันภัยเทศบาลตำบลวังกะ ... Read More...
IMAGE เทศบาลตำบลวังกะ ได้จัดกิจกรรมวันเด็ก ประจำปี พ.ศ. 2567
วันอังคาร, 16 มกราคม 2567
วันเด็กแห่งชาติ 13 ม.ค. 2567 เวลา 08.00 - 14.00 น. เทศบาลตำบลวังกะ... Read More...

ประเพณีลอยเรือสะเดาะเคราะห์

ประวัติแหล่งท่องเที่ยวโดยย่อ

     เทศบาลร่วมกับชุมชนบ้านวังกะ และวัดวงก์วิเวการาม จัดประเพณีลอยเรือสะเดาะเคราะห์ชาวไทยรามัญ  ภาษามอญเรียกว่า  โปฮะมอดบ้าง ( โป=ถวาย , ฮะมอด=เครื่องเซ่นไหว้ , บ้าง=เรือ ) กำหนดจัด 3 วัน ในวันขึ้น 14-15 ค่ำ และแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการบูชาเทวดาที่อยู่ในน้ำ ในป่า และบนบก

ประวัติความเป็นมาของประเพณีลอยเรือสะเดาะเคราะห์นี้ เกิดขึ้นเมื่อครั้งพระเจ้าธรรมเจดีย์ขึ้นครองราชย์ปกครองอาณาจักรมอญ ที่เมืองหงสาวดี ทรงส่งชีปะขาวถือศีล 8 คณะหนึ่ง ออกเดินทางไปยังประเทศศรีลังกา เพื่อให้ไปถือการอุปสมบทเป็นพระภิกษุมาใหม่จากคณะสงฆ์ในประเทศศรีลังกา แล้วให้เดินทางกลับมาเป็นอุปัชฌาย์อาจารย์บวชให้แก่คนมอญในเมืองมอญเสียใหม่ เมื่อเถึงประเทศศรีลังกา ได้รับการอุปสมบทแล้วก็เดินทางกลับ ในระหว่างทางที่เดินทางกลับนั้น เรือสำเภาลำหนึ่งในจำนวนสองลำโดนพายุพัดให้หลงทิศไป เมื่อทราบถึงพระกรรณของพระเจ้าธรรมเจดีย์  พระองค์จึงมีรับสั่งให้ทำเรือจำลองขึ้นมา ข้างในบรรจุด้วยของเซ่นไหว้บูชาเหล่าเทวดาทุกหมู่เหล่า ให้เรือสำเภาที่หลงทิศไปนั้น ได้เดินมาโดยปลอดภัย  หลังจากที่ทำพิธีสะเดาะเคราะห์แล้วไม่กี่วัน เรือที่หลงทิศไปนั้นก็เดินทางกลับมาถึงเมืองหงสาวดีโดยปลอดภัย  

 

 

ระยะเวลา

     ช่วงเดือนกันยายน

 

จุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยว

        ชาวบ้านต่อเรือจากไม้ไผ่ เย็นวันที่๑๔ ค่ำ ชาวบ้านจะนำ “ตง” หรือ “ธง” ที่ทำจากกระดาษแก้วฉลุลวดลายมาปักไว้รอบลำเรือ และธูปเทียนตามกำลังวันวางไว้ในเรือนไม่ไผ่หลังเล็กๆและร่วมสวดมนต์ไหว้พระกับพระภิกษุสงฆ์ ต่อมาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ชาวบ้านจะจัดอาหาร และของเซ่นได้แก่ ข้าวสวย ข้าวตอก กล้วย อ้อย ถั่วตัด ขนมหวาน หมากพลู น้ำ เทียน และธงเล็กๆ ใส่จานไปถวายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านเคารพเรียกว่า“ถวายข้าวลงเรือ” ช่วงสายหลังจากสวดมนต์ไหว้พระเรียบร้อยแล้ว จะทำการตักบาตรน้ำผึ้ง น้ำมันงา โดยตามตำรับยาน้ำผึ้งและน้ำมันงาเป็นส่วนผสมของยาโบราณ  แต่ปัจจุบันนิยมใช้น้ำมันพืชและน้ำตาลทรายแทนเพราะสามารถหาได้ง่าย ช่วงบ่ายจะตักบาตรดอกไม้ มีการแสดง การละเล่น และปล่อยโคมใหญ่โคมเล็ก และวันสุดท้ายคือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ชาวมอญจะร่วมพิธีปล่อยเรือลงน้ำ ชาวบ้านจะจับเชือกที่โยงจากเรือเสมือนเป็นส่วนหนึ่งในการชักจูงเรือ ด้านหน้านำด้วยวงมโหรีปี่กลองเทศบาลตำบลวังกะได้เล็งเห็นความสำคัญของประเพณีดังกล่าวเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีท้องถิ่นให้คงอยู่

Additional information